ข่าวทั่วไป

ร้อยเอ็ด – ว่าที่ร้อยตรีอานพ ศรีบุญลือ นายอำเภอโพนทอง อนุรักษ์ ประเพณีท้องถิ่น (บุญคูณลาน) บูณคูณลานคือธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ ภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาเสร็จ ก็จะทำบุญกุศล เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อถึงเดือนยี่ บรรพบุรุษชาวอิสาน ได้ผูกกลอนสอนไว้ว่า

ร้อยเอ็ด – ว่าที่ร้อยตรีอานพ ศรีบุญลือ นายอำเภอโพนทอง อนุรักษ์ ประเพณีท้องถิ่น (บุญคูณลาน)
บูณคูณลานคือธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรมชาวอีสาน ยึดถือปฏิบัติกัน มาแต่โบราณ ภายหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาเสร็จ ก็จะทำบุญกุศล เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อถึงเดือนยี่ บรรพบุรุษชาวอิสาน ได้ผูกกลอนสอนไว้ว่า

 


เถิงฤดูเดือนยี่…มาฮอดแล้ว(ภาษาอิสาน)
ให้นิมนต์พระสงฆ์องค์เจ้ามาตั้งสวดมงคล
เอาบุญคูณข้าวเข้าป่่าหาไม้ เห็ดหลัว ( เห็ดหลัว=ภาษาถิ่น)ความหมาย เข้าป่าหาฟืนมาเตรียมไว้สำหรับก่อไฟหุงต้ม
อย่าได้หลงลืมทิ่มฮีตเก่าคองเดิมเฮาเด้อ…..
วันนี้ 25 มกราคม 2566 ณ.ลานหน้าที่ว่าการอำเภอโพนทอง ได้มีการ จัดเตรียมสถานที่ รวบรวมข้าวเปลือกที่บรรจุถุงปุ๋ยจากหมู่บ้านและชุมชนต่างๆที่ชาวบ้าน ประชาชนที่มีจิตศรัทธามากบ้างน้อยบ้างตามกำลังศรัทธา ขนใส่รถกะบะนำมาร่วมงานบูญคูณลาน เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง/อส./ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ร่วมกันต้อนรับนำมาก่อเป็นเจดีย์ จากนั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ กลางคืนมีมหรสพ ช่วงหัวค่ำมีการเดินแบบการกุศล ปีนี้มี นางงามข้าวหอมมะลิโลกปี 2566 ร่วมเดินแบบเพื่อการกุศลด้วย ส่วนข้าวเปลือกที่ได้จากการนำมาทำบูญในครั้งนี้จะตั้งเป็นคลัง เป็นฉางข้าวใว้ไปสงเคราะห์ผู้ประสบภัย นายอำเภอกล่าว
ความเป็นมาบูญคูณลาน มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธศาสนาของพระ”กัสสะปะ”มีชายสองคนพี่น้องทำนาในผืนนาเดียวกัน พอข้าวออกรวงเป็นน้ำมัน น้องชายได้ชวนพี่ชายทำข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์ แต่พี่ชายไม่เห็นชอบด้วย ทั้งสองพี่น้องจึงแบ่งนากันคนละส่วน เมื่อน้องชายได้เป็นเจ้าของที่นาที่แบ่งกันแล้ว จึงได้ถวายทานแด่พระสงฆ์ตามความพอใจ โดยทำบุญเป็นระยะถึงเก้าครั้ง
นับแต่เวลาข้าวเป็นน้ำนม ก็ทำข้าวมธุปายาสถวายครั้งหนึ่ง เวลาข้าวพอเม่า ก็ทำข้าวเม่าถวายครั้งหนึ่ง เวลาจะลงมือเก็บเกี่ยวก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลามัดข้าวทำเป็นฟอนก็ถวายทานครั้งหนึ่ง เวลาขนข้าวเข้าลานก็ถวายทานครั้งหนึ่ง และเวลาเก็บข้าวใส่ยุ้งฉางเสร็จก็ทำบุญอีกครั้งหนึ่งและตั้งปณิธานปรารถนาให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคต พอถึงพุทธศาสนาของพระสมณโคดมถึงได้เกิดเป็นโกณฑัญญะ ได้ออกบวชและสำเร็จพระอรหันต์เป็นปฐมสาวก ได้ชื่อว่า”อัญญาโกณฑัญญะ” ส่วนพี่ชายได้ทำบุญเพียงครั้งเดียวเฉพาะตอนทำนาเสร็จแล้ว เมื่อถึงศาสนาพระสมณโคดมได้เกิดเป็น”สุภัททปริพาชก”ได้สำเร็จอนาคามิผลเป็นพระอริยบุคคลองค์สุดท้าย ในพระพุทธศาสนาเนื่องจากอานิสงส์จากให้ข้าวเป็นทานน้อยกว่าน้องชาย ชาวอีสานเมื่อทราบอานิสงส์จากการทำบุญดังกล่าวจึงได้นิยมทำบุญคูณลานต่อ ๆ กันมา
สุเทพ ลอยแก้ว/รายงาน