ข่าวทั่วไป

สระบรี – ร.พ.สระบุรี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์

สระบุรี080464 ร.พ.สระบุรี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์

วันที่ 8 เม.ย. 64 ที่ห้องประชุมศิริพานิช ชั้น 6 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสระบุรี เริ่มเปิด บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเริ่มฉีดให้กับ บุคลากรทางการแพทย์ อสม.และกลุ่มเสียง เพื่อสร้างความ มั่นใจให้กับประชาชนชาวจังหวัดสระบุรี โดยได้รับการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จำนวน 1800 โด๊ส เพื่อกระจายฉีดให้กลุ่มเป้าหมายบุคลากรทางการ แพทย์ที่ปฏิบัติงานด่านหน้า เนื่องจากเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน รักษา และควบคุมโรคโควิด-19 โดยตรง โดยจัดสรรให้โรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 600 โด๊ส สำหรับบุคลากร 300 คน โรงพยาบาลพระพุทธบาท 200 โด๊ส สำหรับบุคลากร 100 คน และ อสม. จำนวน 1000 โด๊ส สำหรับบุคลากร 500 คน ซึ่งโรงพยาบาลสระบุรีได้มีการซ้อมฉีดวัคซีนให้บุคลากร กลุ่มเป้าหมายไปแล้ว จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 พบว่าไม่มีผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนเข็มแรก

สำหรับวัคซีนที่บุคลากรทางการแพทย์ได้รับครั้งนี้ คือ วัคซีน Sinovac ซึ่งอนุมัติการใช้งานในกรณีฉุกเฉินโดยองค์การอาหารและยาของไทย มีประสิทธิภาพป้องกันความรุนแรงของโรคได้ดี โดยขั้นตอนก่อนเข้าฉีด คือ วัดไข้ ลงทะเบียนประวัติ ตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนักวัดความดันโลหิต ประเมินความเสี่ยง และลงนามยินยอมรับการฉีดวัคซีนต่อเจ้าหน้าที่ และต้องพัก 30 นาที หลังการฉีดวัคซีนเพื่อสังเกตอาการ และรับบัตรนัดเพื่อเข้าฉีดวัคซีนเข็มที่ 2ต่อไป ภายหลังได้รับวัคซีนแล้วอาจมีอาการข้างเคียง เช่น มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดบริเวณที่ฉีด หรือหากมีอาการข้างเคียงรุนแรงกรุณาติดต่อ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลสระบุรี 036-343500

นายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โควิดของจังหวัดสระบุรี ล่าสุดตามที่เราทราบข่าวว่ามีการระบาดที่กรุงเทพมหานครในกลุ่มสถานบันเทิง ส่วนสระบุรีก็เช่นกัน เมื่อวานมีรายงานผู้ป่วย 1 ราย มีประวัติไปเที่ยวสถานที่เสียงในกรุงเทพกลับมา 1 ราย และวันนี้ก็มีอีก 2 ราย ไปเที่ยวสถานบันเทิงกรุงเทพมาอีก รวมระลอกนี้ที่เกี่ยวกับสถานบันเทิงที่กรุงเทพฯ ตอนนี้ที่จังหวัดสระบุรีเรามีผู้ป่วย 3 ราย และยังมีผู้ป่วยที่รอสังเกตอาการผู้สัมผัสใกล้ชิดอีกจำนวนหนึ่งที่รอฟังผลและสังเกตอาการอยู่ที่สถานที่กักตัว ที่ทางจังหวัดได้กำหนดไว้

ส่วนตอนนี้อยากจะฝากเตือนพี่น้องประชาชนในจังหวัดสระบุรี เพราะจะเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์ การไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ทาง สบค.เอง ก็ไม่ได้ห้าม ว่าห้ามเดินทางหรือไปที่ไหนต้องกักตัว คือทุกคนสามารถเดินทางได้ ก็เข้าใจเพราะว่าเป็นช่วงเทศกาล แต่ประเด็นสำคัญ คือ 1.เราต้องป้องกันตัวเองถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ได้ฉีดก็แล้วแต่ ต้องป้องกันตัวเอง การใส่หน้ากากอนายมัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การล้างมือ การหลีกเลี่ยงไปสถานที่เสี่ยงต่างๆอันนี้สำคัญ และอยากฝากว่าการไปสถานที่เสี่ยง ผับ ทาง สบค.ก็ไม่ได้สั่งให้ปิด แต่เราก็ไม่ควรจะไป ควรหลีกเลี่ยง ไปทานข้าวกับครอบครัวไปได้ แต่ต้องรักษาเว้นระยะห่าง แต่อย่าไปกินเหล้าปาตี้กัน ส่วนเรื่องกิจกรรมวันสงกรานต์ ทางสบค.ก็ห้ามเรื่องการสาดน้ำ รดน้ำ อยู่แล้ว แต่ว่าไปไหว้พระ รดน้ำดำหัวเอาแล้วกัน และอีกเรื่องนึงคนที่มีประวัติเสี่ยง ถ้ารู้ตัวว่าได้ไปเที่ยวสถานที่บันเทิงที่กรุงเทพฯหรือจังหวัดอื่นมา และมีสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ให้รีบมาตรวจที่โรงพยาบาลเป็นการด่วน ไม่ต้องกลัว ให้รีบมารับการตรวจอย่างโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำการรักษาและกักตัว ไม่ให้ท่านเพร่เชื้อไปให้คนอื่น อย่าประมาท เพราะบางคนก็ไม่มีอาการ ถ้ารู้ตัวว่ามีประวัติและสัมผัสกับผู้ป่วยให้รีบมาโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง

รอบนี้จังหวัดสระบุรีเราได้วัคซีนมา 1800 โดส 1 คน ได้ฉีด 2 โดส พูดง่ายๆก็คือว่า ฉีดได้ 900 คน ในรอบแรก ส่วนล็อตใหญ่จะมาในช่วยเดือนมิถุนายน จะได้มาแค่ 900 ก่อน เป็นวัคซีนจากชิโนแวค มีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าไม่ควรฉีดให้กับคนที่อายุเกิน 60 ปี ตอนนี้เราได้โคต้ามา 900 จะให้เจ้าหน้าที่อสม.500 และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นบุคคลที่เสี่ยงสูงต่อการสัมผัสเชื้อ เพราะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องรักษาและตรวจคนไข้ ในจังหวัดสระบุรีเราก็จะฉีดอยู่ 2 ที่ในช่วงแรก .ที่โรงพยาบาลสระบุรี และ โรงพยาบาลพระพุทธบาท และผู้ที่กลุ่มเสี่ยงเราได้ประชาสัมพันธ์นัดหมายกันมาฉีดแล้ว จะฉีดให้ทั้งหมดภายในวันนี้และพรุ่งนี้

สำหรับวันนี้ตนเองก็เข้ารับการฉีดวัคซีนเข้าไปก็ไม่รู้สึกอะไร เหมือนฉีดยาทั่วไป เพราะปริมาณวัคซีนมีแค่นิดเดียว ซึ่งไม่เจ็บมาก ฉีดที่แขนได้อยู่แล้ว ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีน อันดับ 1.ทางรัฐบาลต้องการจะฉีดให้ครอบคุมประชากร 70 % แต่วัคซีนก็ไม่ได้มาทีเดียว จะทยอยมา ซึ่งทางเราจะทยอยฉีดตามกลุ่มเสี่ยงต่างๆก่อน กลุ่มเสี่ยงแรกคือ บุคลากรเสี่ยงสูงที่ต้องดูแลคนไข้ ผู้มีโรคประจำตัว เราก็ต้องทยอยฉีดไปเรื่อยๆ ก็อยากจะประชาสัมพันธ์คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ มีหลายช่องทางให้ลงทะเบียน พอถึงคิวเราก็จะเรียกตามคิว ที่สำคัญก่อนมาฉีดต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และต้องเช็คดูว่าไม่มีประวัติแพ้ ไม่เป็นความดัน ไม่มีโรคประจำตัว ทั้งหลายแหล่ ซึ่งพอมาถึงเจ้าหน้าที่เขาจะทำการตรวจคัดกรองให้อยู่แล้ว มีการวัดไข้ วัดความดัน ซักประวัติ เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงอะไรหรือเปล่า ถ้าฉีดได้ก็ต้องฉีด แปปเดียวก็เสร็จแล้วใช้เวลาไม่นาน จะเสียเวลาตอนนั่งรอประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นมาตรการที่สำคัญต้องนั่งรอเผื่อมีอาการแพ้ ///

สัมฯนายแพทย์กฤษณ์ สกุลแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

เกียรติยง อัศวราศี 085 3562949