**อบจ.ประจวบจับมือ สปสช.ขับเคลื่อนกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในจังหวัดประจวบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น**
**อบจ.ประจวบจับมือ สปสช.ขับเคลื่อนกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในจังหวัดประจวบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น**
เมื่อวันที่ 22 ก.ค.เวลา 13.00 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วย นพ.พีระมน นิงสานนท์ ผอ.เขต สปสช.เขต 5 ราชบุรี นางจินตนา แววสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด นางทิพาพรรณ เมืองเล็ก ผอ.กลุ่ม สนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 5 ราชบุรี นายแพทย์ธนกร ศรัณยภิญโญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบฯ นายสมไช เสียงใหญ่ ท้องถิ่นจังหวัดประจวบฯ ผู้แทน รพ.ประจวบฯ ผู้แทน สนง.พัฒนาสังคมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 5 ราชบุรี จัดทำขึ้น เพื่อขับเคลื่อนบริหารการจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด สนับสนุนส่งเสริมระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการ หน่วยบริการ หน่วยงานสาธารณสุข กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ หรือองค์กรอื่นๆ เพื่อให้ผู้มีสิทธิ์ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยแนวทางการสมทบเงิน สปสช.จะจัดสรรเงินไม่เกิน 8 บาทต่อจำนวนผู้มีสิทธิ์หลักประกันสุขภาพในจังหวัด และ อบจ.จะต้องสมทบเงินในอัตราที่เท่ากันกับ สปสช.หรือมากกว่า
ที่สำคัญคือองค์การบริการส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งเป็นแกนหลักของกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด พบว่าภาพรวมการทำงานฟื้นฟูฯมี 4 ประเด็นสำคัญ คือ การเพิ่มความครอบคลุมการเข้าถึงอุปกรณ์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย การพัฒนาบริการการฟื้นฟูทางการแพทย์ และการส่งเสริมความครอบคลุมการเข้าถึงสิทธิ์และสวัดิการของรัฐ ยังมีประเด็นที่ต้องพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด”
ประเด็นที่ 1 คือ การจัดอุปกรณ์ ซึ่งก็มีหลายหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ มีทั้ง องค์การบริการส่วนท้องถิ่น และ สปสช.แต่ยังต้องพัฒนาในเรื่องของคุณภาพที่ตรงกับความต้องการผู้ใช้และมีความซ้ำซ้อนในการให้บริการการแนะนำการใช้งาน
ประเด็นที่ 2 คือ การปรับสภาพที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม เนื่องจากในมีต้นทุนในการดำเนินการ ทำให้มีผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูเข้าไม่ถึงบริการในเรื่องนี้
ประเด็นที่ 3 การบริการการฟื้นฟู ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องของบุคลากรด้านการฟื้นฟูไม่เพียงพอ แม้จะพยามอบรมนักบริบาลเข้ามาช่วยเสริมแต่ก็ยังขาดแคลน ในพื้นที่โครงการฯ มีการปรับบทบาทการทำงานให้ทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์แผนไทย พยาบาล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเข้ามาสริมงานฟื้นฟูมากขึ้น
ประเด็นที่ 4 เป็นเรื่องการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ ที่ผ่านมาต้องให้ผู้ต้องการรับการบริการฟื้นฟูมาลงทะเบียน มีผู้รับรอง ทำให้ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูเข้าถึงสิทธิ์และสวัสดิการได้จำกัด จึงอาจจะต้องพัฒนาระบบในเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ที่ควรจะได้รับการฟื้นฟูเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกคาดประมาณการว่าสัดส่วนของประชากรที่อายุมากกว่า 60 ปี รวมทั่วโลกจะเพิ่มเป็นสองเท่าในปี ค.ศ.2050 และประชากรดังกล่าวส่วนใหญ่มีโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางกายด้วย ทำให้มีความต้องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพมากขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ทำให้การเตรียมความพร้อมงานฟื้นฟูมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ขณะที่กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ได้อย่างครบวงจร ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนฯไปแล้วกว่า 70 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นการขยายการฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้ผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น**
//////////////////////////////////////////////////////////
พิสิษฐ์ รื่นเกษม ข่าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โทร0643641644