ข่าวทั่วไปข่าวพาดหัว

ตาก – โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง)หนึ่งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ Coding for Better Life โค้ดดิ้งพัฒนาคุณภาพชีวิต

นายวัชรินทร์ ใจยะสิทธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยนางรพิรัตน์ มงคลจุฑาเศรษฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ รับมอบอุปกรณ์ดิจิทัล ตามโครงการ Coding for better life (โค้ดดิ้งพัฒนาคุณภาพชีวิต) ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ณ โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย มุ่งสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งอย่างยั่งยืนผ่านการยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการเสริมทักษะและสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชน ครูผู้สอน บุคลากรการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปผ่านหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ เครื่องยนต์ที่สามของนโยบาย The Growth Engine of Thailand myh’ ทั้งนี้ โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้เป็นส่วนหนึ่งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้

“สำหรับโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ที่ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้นับเป็นหนึ่งโครงการในแผนงานระยะยาวที่มุ่งสร้างครูผู้สอนที่พร้อมถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านโค้ดดิ้งแก่นักเรียนรุ่นต่อรุ่น พร้อมกันนี้จะดำเนินการการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมรองรับการเรียนรู้ ซึ่งทั้งหมดจะช่วยสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัลในระยะยาวและยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ (Human Capital) เครื่องยนต์ที่สามของนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวง หรือ The Growth Engine of Thailand” รมว.ดีอี ได้กล่าวไว้

ด้านนางรพิรัตน์ มงคลจุฑาเศรษฐ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ กล่าว่า โครงการ Coding for Better Life เป็นทักษะที่ช่วยให้นักเรียนคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา คือ สามารถแยกปัญหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วนไปทีละขั้น อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนการเขียนโค้ดจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน มีรูปแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่นกิจกรรม การแก้ปัญหาในกระดาษ (Unplugged) / การแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Plugged Active Learning) และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พัฒนานักเรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของโค้ดดิ้ง ในการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้โค้ดดิ้ง และสร้างความตระหนักให้นักเรียน รู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ เลือกใช้ ICT ในการแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์จาก ICT ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ใช้สื่อ ICTเพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้อย่างสนุก ไม่เบื่อ

เกษมสันต์ ไชยเดช ข่าวภูมิภาค / ตาก